Birth is not the illness! Breastfeeding: a winning goal for life!

เด็กเล็กควรดูแลอย่างไรในภาวะน้ำท่วม เด็กเล็กควรดูแลอย่างไรในภาวะน้ำท่วม
อุทกขภัยครั้งนี้ทำให้หลายคนหลายครอบครัวต้องอยู่ภาวะที่ยากลำบากขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม ที่อยู่ที่กินก็อาจต้องเป็นที่พักพิงที่หาได้ทดแทนบ้านที่เคยอยู่ กลุ่มคนที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่งคือกลุ่มคนที่อ่อนแอ เช่น คนป่วย คนชรา เด็กและผู้หญิงที่ต้องให้การช่วยเหลืออย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาลุกลามในภายหลัง ปัญหาสำคัญที่เป็นปัญหาใหญ่ที่กระทบกับสุขภาพก็คือปัญหาโรคท้องร่วง เพราะ
การขาดแคลนน้ำสะอาด
การขาดแคลนนมผงและอุปกรณ์ขวดนม จุกนม ฯลฯ
การขาดแคลนอุปกรณ์ทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อ
สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึง
การพยายามให้ครอบครัวได้อยู่ด้วยกัน
จัดหาสถานที่ที่เหมาะสม
จัดหาอาหารและนำดื่ม
ช่วยเหลือแม่ที่มีลูกเล็กได้ให้ลูกกินนมแม่ตั้งแต่เริ่มต้น
ทำไม ต้องยังคง นมแม่ **ในภาวะฉุกเฉิน***
ในภาวะฉุกเฉิน ย่อมไม่สามารถ หานม หรืออาหาร ให้ทารกและเด็กเล็กได้โดยสะดวก
ไม่แนะนำให้แม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เลิกให้นมแม่ควรให้คงกินนมแม่ต่อ
· แม่ย่อมให้นมแม่กับลูกได้โดยสะดวก สะอาด และ ทันที
· แม่ที่โอบกอดลูก ให้นมลูก จะรู้สึกผ่อนคลาย
มีพลังใจในการผจญกับภาวะฉุกเฉิน
จะยังคงให้ แม่สามารถให้นมลูกได้นมแม่ในภาวะฉุกเฉินได้อย่างไร
· ให้แม่ ได้รับอาหารและน้ำ อย่างเพียงพอ
เพื่อให้แม่มีความสมบูรณ์ในการผลิตน้ำนม
· จัดที่พักให้แม่และลูก อยู่ด้วยกัน ในบรรยากาศที่ สงบ เท่าที่เป็นไปได้
· ถ้ามีแม่ที่จะคลอด ควรให้ลูกได้ดูดนมแม่จากเต้า โดยเร็วที่สุด
เพื่อให้น้ำนม มาเร็ว
· การรับบริจาค นมผสม ให้รับบริจาค ตามความจำเป็น ไม่นำนมบริจาคมาให้
แม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
*ข้อเท็จจริง***
* ***ในภาวะฉุกเฉิน แม่อาจขาดอาหาร คงไม่สามารถให้นมแม่ได้**” *
ข้อเท็จจริง: แม่ที่ขาดอาหารยังสามารถให้นมลูกได้
การขาดอาหารไม่มากน้ำนมจะยังคงมีคุณภาพดี
ขณะเดียวกันก็ไม่ควรปล่อยให้แม่ขาดอาหาร ควรบำรุงแม่เพื่อแม่สร้างน้ำนมได้ดี
“ในภาวะฉุกเฉิน *แม่คิดว่า ไม่สามารถ ผลิตนมได้พอที่จะเลี้ยงลูก**” *
ข้อเท็จจริง: แม่สามารถผลิตน้ำนมได้เพียงพอ ตราบใดที่ลูกยังคงดูดนมแม่จากเต้า
เพราะการดูดนมของลูกจะเป็นการกระตุ้นให้วงจรสร้างน้ำนม ทำงานได้ดี
*“**ความเครียดทำให้แม่ไม่สามารถผลิตน้ำนมได้**”*
ข้อเท็จจริง: ความเครียดไม่ได้ทำให้การผลิตน้ำนมไม่ได้
แต่อาจจะมีส่วนทำให้น้ำนมไหลไม่สะดวกชั่วคราว ควร
สร้างสภาพแวดล้อมที่ลดความเครียดได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้สำหรับผู้เป็นแม่
เป็นต้นว่าบริเวณที่มีรั้วรอบขอบชิด เต๊นท์สำหรับแม่และทารก
*“**แม่ควรจะหยุดให้นมลูกถ้าหากว่าเด็กท้องเสีย**”*
ข้อเท็จจริง: นมแม่ช่วยให้ลูกหายท้องเสียได้เร็วขึ้น อย่าหยุดให้นมลูกถ้าทารก
มีอาการท้องเสีย
*“**เมื่อหยุดให้นมลูกไปแล้วไม่สามารถที่จะเริ่มต้นให้นมลูกได้อีก**”*
ข้อเท็จจริง: ถ้าแม่หยุดให้นมลูก ก็ยังสามารถเริ่มต้นใหม่ได้เสมอ
เพียงแต่ต้องการความช่วยเหลือในการที่จะกระตุ้นให้ทารกดูดนม
|
Breast...Breastfeeding