Birth is not the illness! Breastfeeding: a winning goal for life!
Too Much 0r Too Little มากไป...น้อยไป...
น้ำนมมาก น้ำนมน้อยยังเป็นข้อสงสัยและบางครั้งกลับกลายเป็นการแปลความหมายผิดไปในทางตรงข้ามมาแล้วก็มี ด้วยความที่เราต่างมองไม่เห็นทั้งน้ำนมในเต้านมแม่และน้ำนมที่เข้าไปอยู่ในกระเพาะอาหารน้อยๆของลูกทำให้เกิดความคลางแคลงสงสัยจนลุกลามไปเป็นความวิตกกังวลจนน้ำนมที่พรั่งพรูลดหายไปก็มีมาแล้วเพราะวิธีการทำให้น้ำนมมีมากสวนทางกับการทำน้ำนมสมดุลกับความจุของกระเพะเล็กๆของลูกในช่วงเวลาที่ลูกค่อยๆเติบโตทีละเล็กทีละน้อย ขนาดของกระเพาะอาหารทารกในวันแรกจะสามารถรับปริมาณน้ำนมได้เพียง 4-5 ซีซี ดังนั้นจึงกินได้ทีละน้อย ในขณะที่แม่เองจะเริ่มหัวน้ำนมหรือ colostrums ซึ่งวันหนึ่งจะมี 25-75ซีซี พอผ่านไป 2-3 วันน้ำนมจะเริ่มมีมากขึ้นเป็น 150-170 ซีซีต่อวัน ในขณะที่ความจุของกระเพาะลูกก็เพิ่มขึ้นเป็น 20-30ซีซี และก็จะเพิ่มตามกันไปทั้งน้ำนมแม่และกระเพาะอาหารของลูก ตามอายุ
ลูกควรได้รับการกระตุ้นให้ดูดนมจากอกแม่ 8-10 ครั้งในหนึ่งวัน ในช่วงสัปดาห์แรกๆเพื่อช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนมและรักษาระดับการผลิตน้ำนมให้เพิ่มขึ้นตามการเติบโตของลูก แต่เด็กในวันสองวันแรกจะหลับเสียส่วนใหญ่ ถ้าหลับนานเกินไปก็จะได้ดูดนมน้อย ได้สารอาหารและน้ำน้อยไปก็พาลหมดเรี่ยวหมดแรงหลับมากเข้าไปอีกไปๆมาๆทำให้ตัวเหลืองมากขึ้นจึงต้องกระตุ้นให้กินนมบ่อยขึ้นเพื่อสารที่ทำให้ตัวเหลืองนั้นขับออกมาทางอุจจาระ แต่ถ้าลูกได้กินนม8-10 ครั้งต่อวันถ่ายอุจจาระ สักวันละครั้ง ปัสสาวะ สัก 6-8 ครั้งแสดงว่าได้รับน้ำและอาหารเพียงพอแล้ว ปัญหาน้ำนมน้อยจึงต้องดูจากการเพิ่มขึ้นน้ำหนักลูก ส่วนมากพบว่าอาจให้กินน้อยไป หรือการดูดไม่ถูกต้องทำให้ลูกไม่ได้น้ำนม การป้องกันและแก้ไขน้ำนมที่คาดว่าน่าจะน้อยก็ต้องยึดหลัง ดูดโดยเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธีและพยายามให้กินจนเกลี้ยงเต้า
เรื่องของน้ำนมที่ผลิตออกมาอย่างดีและพอสำหรับลูกแน่ๆแต่กลับถูกแปลความหมายว่ามีไม่พอนี่สิกลับเป็นปัญหาใหญ่เพราะไปแก้กันคนละทิศละทาง อาการนี้มักพบในช่วงหลังวันที่ 4-5 ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 2-3 หลังคลอเพราะเป็นช่วงปริมาณน้ำนมแม่จะมีมากถึงวันละ 500-750 ซีซีหรือมากกว่านี้ก็มี เวลามีน้ำนมในเต้ามากเมื่อลูกดูดสักครู่น้ำนมที่เต็มเต้าจะไหลอย่างเร็วเป็นจำนวนมากจนบางครั้งลูกกลืนไม่ทันเกิดอาการหงุดหงิดร้องไห้ ผลักหนีไม่ยอมดูดนมอาการนี้บางทีไม่มีน้ำนมพุ่งออกมาให้เห็นแม่ก็จะสงสัยว่าน้ำนมคงไม่มีลูกเลยหงุดหงิดส่วนแม่ก็มักจะนมคัด นมค้างเต้า การแก้ไขทำได้โดยลดความเร็วและแรงของน้ำนมโดยการให้นมในท่านอนหรือกึ่งนั่งกึ่งนอน อุ้มลูกให้ศีรษะสูงขึ้น อาจบีบน้ำนมออกบ้างเล็กน้อยเพื่อให้ลานนมนุ่มขึ้นแต่ไม่ควรใช้ปั้มหรือบีบน้ำนมออกจนเกลี้ยงเต้าเพราะจะเป็นการกระตุ้นการสร้างน้ำนมที่มากเกินความต้องการของลูก ควรให้กินจนเกลี้ยงเต้าเป็นข้างๆไป ช่วงที่น้ำนมไหลเร็วและมีจำนวนมากมักทำให้ลูกมีลมในท้องเยอะแต่จะดีขึ้นเมื่อกินจนเกลี้ยงเต้า ควรอุ้มเรอนม จะใช้เวลาปรับสมดุลนี้ประมาณ 3-4 วันหรืออาจถึงสัปดาห์ แต่สิ่งเหล่านี้ไม่มีอันตรายเพียงแต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป
บทความโดย มีนะ สพสมัย RNM,IBCLC |
Breast...Breastfeeding