Birth is not the illness! Breastfeeding: a winning goal for life!

กินนมแม่อย่างไรป้องกันภัยจากโรคหวัดสายพันธ์ุใหม่2009 ![]() กินนมแม่อย่างไรให้ปลอดภัยจากโรคหวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 หัวข้อสัมมนาจากสายใยรักนมแม่คาแฟ่ ครั้งที่ 1 โดยศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย จัดที่ อาคาร 90 4 ศูนย์การแพทย์และอนามัยในพระองค์ โครงการสายใยรักในครอบครัว เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2552 พญ.ศิราภรณื สวัสดวรณ์ รองเลขาธิการ ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย และ รศ. นพ.สรศักดิ์ โล่ห์จินดารัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ จากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี มีคำแนะนำดีๆในการป้องกันจากโรคหวัดสายพันธุ์ใหม่ หนึ่งในนั้คือการให้ลูกกินนมแม่ อ่านรายละเอียดที่นำมาฝากได้...
โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เมื่อเริ่มระบาดได้สร้าง ความกังวลใจให้กับมวลมนุษยโลก เป้นอย่างมาก
ณ ปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับว่า โรคนี้ในผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง อาการไม่ได้รุนแรงมาก ใกล้เคียงกับโรคไข้หวัดใหญ่ที่มีการระบาดเป็นประจำทุกปี
อัตราตายก็ใกล้เคียงกัน คือประมาณ ร้อยละ 0.1-0.2 หมายความว่าถ้ามีผู้ป่วย จำนวน 1000 คน มีโอกาสเสียชีวิต 1-2 คน
โดยพบว่า ผู้ที่เสียชีวิตมักเป็นคนที่มีหรืออยู่ในระยะที่ภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงคือ
• เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี
• ผู้สูงอายุ อายมากกว่า 65 ปี
• หญิงตั้งครรภ์
• ผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ
• ผู้มีโรคประจำตัว(: โรคปอด โรคหัวใจ เบาหวาน มะเร้ง เอดส์ ฯลฯ)
• ผู้ได้รับยาแอสไพรินเป็นเวลานาน
ดูแลทารกและเด็กเล็กๆ อย่างไรเพื่อลดโอกาสติดเชื้อ
1. รู้จักเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เชื้อไวรัสอยู่ใน เสมหะ น้ำมูก น้ำลาย เมื่อติดโรคแล้ว มักจะมีอาการภายใน 1-3 วัน คนเป็นโรคจะแพร่เชื้อได้ ในระยะ 1 วันก่อนมีอาการจนถึง 7 วันหลังวันเริ่มป่วย เชื้อมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานเท่าใด ยังไม่มีคำตอบคาดว่าเช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่อื่นๆ คือ
- อุณหภูมิห้อง ไม่กี่วินาทีจนถึง 2-3 วัน
- มีผู้ทำการศึกษา-สวิสเซอร์แลนด์ ป้ายน้ำมูกที่มีเชื้อบนธนบัตร พบเชื้อ อยู่ได้นานถึง 17 วัน (ซึ่งอาจเป็นเพราะสภาพอากาศที่หนาว)
ดังนั้นถ้าคนที่เป็นโรคป้ายน้ำมูก ขากเสมหะไว้ที่ใด แล้วลูกเราไปสัมผัส ก็ จะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ อาการ ใกล้เคียงกับไข้หวัดใหญ่ เช่น ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย กล้ามเนื้อ ไอ เจ็บคอ อาจมีอาการอาเจียน ท้องเสีย และหากมีอาการ รุนแรงจะมีอาการปอดอักเสบรุนแรง หอบ หายใจลำบาก
2. เรื่อง ต้องหมั่นปฏิบัติ สำหรับการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่
1 กินร้อน
2 ช้อนกลาง
3 ล้างมือ
4 ใส่หน้ากาก
5 ไม่แออัด
6 ปัดกวาดเช็ดถู
7 ป่วยไม่มากให้อยู่กับบ้านและ ให้ความสำคัญกับ การกินอาหารครบถ้วน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
3. ประเด็นย้ำ ปลูกฝัง สำหรับเด็ก เพื่อให้เป็นนิสัย
• มือสะอาดก่อนจับหน้า มือสะอาดก่อนเข้าปาก เช่น
- ไม่เอาของสกปรกเข้าปาก
- หมั่นล้างมือ
• หมั่นล้างของเล่นเด็กให้สะอาด
• ไม่ไอ จามรดกัน
• ใช้ช้อนกลางตักอาหาร ไม่กินน้ำปนแก้ว ปนหลอด
พ่อแม่ ต้องทำเป็นตัวอย่างสอดแทรกในการเล่าเรื่อง เล่านิทาน
4. ให้ลูกกินนมแม่ ในระยะมีการระบาดของโลก ควรทำอย่างไร โดยธรรมชาติ
• เมื่อแม่ติดเชื้อใด แม่จะสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อนั้น
• ในน้ำนมแม่ จะมี
- ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อนั้น (specific antibody)
- สารช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันอื่นๆ (immune boosting substance)
- สารต้านเชื้อไวรัสต่างๆ (anti virus substance)
• ภูมิคุ้มกันและสารต่างๆ จะถูกส่งสู่น้ำนมแม่ เมื่อลูกกินนมแม่ก็จะได้รับไปด้วย
• เป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ ที่จะช่วยปกป้องเด็ก เนื่องจากในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี
ระบบภูมิคุ้มกันยังเจริญไม่เต็มที่
แม่ลูกยังไม่ป่วย
• ให้ลูกยังคงกินนมแม่ต่อไป
เนื่องจากพบว่า เชื้อไม่ได้ติดต่อผ่านทางน้ำนมแม่ โดยอาศัยข้อมูลจาก ในระยะระบาดของไข้หวัดใหญ่ธรรมดาในทุกปี ไม่พบ
ปัญหาลูกติดโรคไข้หวัดใหญ่ผ่าน น้ำนมแม่ เช่นเดียวกับการโรคไข้ชิกุนคุนยา พบว่าน้ำนมของแม่ที่มีอาการไข้ มีเชื้อ ไวรัสใน
กระแสเลือด แต่ตรวจไม่พบเชื้อโรคในน้ำนมแม่ ยกเว้น โรคเอดส์ ที่เชื้อสามารถติดต่อทางน้ำนมแม่ได้ จึงห้ามไม่ให้ลุกกินนมแม่
ถ้าแม่ป่วย
• เวลาที่แม่มีอาการ ลูกมักได้รับเชื้อ หรือติดโรคไปแล้ว
• ตัวแม่ก็จะมีภูมิคุ้มกัน น้ำนมแม่ก็จะมีภูมิคุ้มกัน
• เมื่อให้ลูกกินนมแม่ ลูกก็จะได้น้ำนมที่มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะช่วยให้ไม่เป็นโรค หรือถ้าเป็นก็ไม่รุนแรง
• ควรให้ลูกดูดนมแม่บ่อยๆจะได้รับภูมิคุ้มกันมากขึ้น
• แม่ป้องกันการไอ จามรดหน้าลูก ใส่ผ้าปิดปาก ระหว่างให้นมลูก ละหมั่นล้างมือ
แม่ป่วยมาก ไอมาก
• กังวลใจมากว่าลูกจะติด
• แยกแม่กับลูกได้ แต่ยังควรให้นมลูกโดย
- บีบน้ำนมแม่ ป้อนลูก
- บีบออกบ่อยๆ คงวงจรสร้างน้ำนมไว้
- แม่กินยาต้านไวรัส Tamiflu ก็ยังให้นมลูกได้
การใช้หน้ากาก ( mask) เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ข้อมูลพบว่า
จาม ละอองน้ำมูกจะมีความเร็วประมาณ 50 เมตร ต่อวินาที
ไอ 10 เมตร ต่อวินาที
หายใจธรรมดา 1 เมตรต่อวินาที
ดังนั้นการป้องกันทั่วไป อยู่ในที่ที่มีโอกาสรับเชื้อจากการหายใจรดกัน หรือไอ จาม ควรใส่หน้ากาก โดยใช้หน้ากากแบบที่แพทย์
ผ่าตัดใช้ หรือหน้ากากผ้าใช้ผ้าบางๆเย็บซ้อนกัน 2-3 ชั้นให้ใส่ครอบบริเวณ จมูก ปาก และคางผูกสายรัดให้พอดี ไม่เอามือจับ
หน้ากาก ถ้าจับต้องล้างมือ
ถ้าใช้แบบ ใช้แล้วทิ้ง ใส่แต่ละอันไม่เกิน 1 วัน
ถ้าใช้แบบผ้า เวลาถอด ต้องหาถุงใส่แล้วนำไปซักทำความสะอาดระมัดระวังมือ ไม่ไปสัมผัสบริเวณด้าน หน้า หน้ากาก
หน้ากากพิเศษที่เรียกว่า N 95 ใช้เฉพาะกรณีที่เข้าใกล้ผู้ติดเชื้อ เช่นในการให้การรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเท่านั้น ไม่ควร
มาใช้ใน การป้องกันในที่สาธารณะ
อ้างอิง
แนวทางปกิบัติ ในการดูแลรักษา โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 กระทรวงสาธารณสุข
http://www.moph.go.th/index.php
http://www.cdc.gov/flu/professionals/infectioncontrol/peri-post-settings.htm
Breastfeeding / Swine Flu Recommendations for Physicians from the Academy of Breastfeeding Medicine May 12, 2009
www.bfmed.org
How far droplets can move in indoor environments--revisiting the Wells evaporation-falling curve. - Xie X - Indoor Air - 01-JUN-2007; 17(3): 211-25 MEDLINE is the source for the citation and abstract of this record )
|
Breast...Breastfeeding