สนามบินสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิซึ่งมีความหมายว่า แผ่นดินทอง และทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเมื่อวันเสาร์ที่ 19 มกราคม พุทธศักราช 2545 มีพื้นที่ประมาณ 20,000 ไร่ (8,000 เอเคอร์) ตั้งอยู่บนถนนบางนา - ตราด กม. 15 อยู่ห่างจากใจกลางกรุงเทพมหานคร 25 กม. รองรับผู้โดยสารได้ 45 ล้านคนต่อปี รองรับเที่ยวบินได้ 76 เที่ยวบินต่อชั่วโมง รองรับการขนถ่ายสินค้าได้ 3 ล้านตันต่อปี อาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เป็นอาคารเดี่ยวขนาดใหญ่ ให้บริการผู้โดยสารทั้งใน และระหว่างประเทศในอาคารเดียวกัน มีเนื้อที่ใช้สอยประมาณ 563,000 ตารางเมตร อาคารผู้โดยสาร มีทั้งหมด 7 ชั้น และชั้นใต้ดิน 2 ชั้น ชั้นที่ 1 Bus และแท็กซี่ ล็อบบี้ ชั้นที่ 2 ส่วนบริการผู้โดยสารขาเข้าทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ชั้นที่ 3 ร้านค้า ร้านอาหาร และห้องรับรองบุคคลทั่วไป (CIP) ชั้นที่ 4 ส่วนบริการผู้โดยสารขาออก ประกอบด้วย พื้นที่บริการผู้โดยสาร Premium ของสายการบินไทยจุดตรวจหนังสือเดินทาง จุดตรวจศุลกากร เคาน์เตอร์สายการบิน เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ท่าอากาศยาน ชั้นที่ 5 สำนักงานของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และกลุ่มสายการบินพันธมิตร Star Alliance ชั้นที่ 6 ศูนย์ให้บริการแบบครบวงจรท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ชั้นที่ 7 จุดชมทัศนียภาพ ส่วนชั้นใต้ดินมีการแบ่งสัดส่วนเป็นสถานีรถไฟ ชานชาลารถไฟและพื้นที่ของระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า อาคารเทียบเครื่องบิน เป็นอาคารสูง 4 ชั้น มี 7 หลังคือ A, B, C, D, E, F, และ G อาคารเทียบเครื่องบิน A , B ใช้บริการสำหรับผู้โดยสารภายในประเทศ อาคารเทียบเครื่องบิน B ให้บริการสำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ ช่วงเวลา 21.00-04.00 น. อาคารเทียบเครื่องบิน C, D, E, F, และ G ให้บริการสำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ ทางวิ่ง ในระยะแรกมี 2 ทางวิ่ง คือทางวิ่งฝั่งตะวันออก ความยาว 4,000 เมตร กว้าง 60 เมตร และทางวิ่งฝั่งตะวันตก ความยาว 3,700 เมตร และกว้าง 60 เมตร มีทางขับ 52 เส้น ลานจอดอากาศยาน มีหลุมจอดอากาศยาน 120 หลุมจอด ในจำนวนนี้เป็นหลุมจอด ที่มีสะพานเทียบเครื่องบินให้บริการ 51 หลุมจอด หลุมจอดระยะไกล 69 หลุมจอด และมีหลุมจอดสำหรับเครื่องบิน Airbus A380 ได้ 8 หลุมจอด เป็นหลุมจอดประชิดอาคาร 5 หลุมจอด หอบังคับการบิน มีความสูง 132.2 เมตร เป็นหอบังคับการบินที่สูงที่สุดในโลก เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีการให้บริการจราจรทางอากาศที่ทันสมัยที่สุด แห่งหนึ่ง สำหรับรองรับปริมาณเที่ยวบินที่จะบินขึ้น ลง ประมาณ 76 เที่ยวบินต่อชั่วโมง อาคารสถานีดับเพลิงและกู้ภัย มี 3 สถานีคือ สถานีหลัก รับผิดชอบการดับเพลิงอาคาร ส่วนอีก 2 สถานี เป็น Sub Station ตั้งอยู่ในเขต Airside บริเวณกึ่งกลางทางวิ่ง ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก รับผิดชอบการดับเพลิงอากาศยาน ระดับการดับเพลิงและกู้ภัยตามมาตรฐานองค์การบินพลเรือนระหว่างประเทศ ระดับ 10 สำนักอุตุนิยมวิทยาการบิน มีภารกิจในการสนับสนุนกิจกรรมการเดินอากาศที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศและ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก โดยดำเนินการติดตั้งเครื่องมือตรวจอากาศ และระบบการให้บริการ ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาการบิน เพื่อประโยชน์ในการตรวจและรายงานอากาศการบิน การพยากรณ์อากาศบินที่ท่าอากาศยานและตามเส้นทางบิน การติดตามสภาวะอากาศ เพื่อออกคำเตือนลักษณะอากาศที่เป็นอันตรายต่อการบิน สถานีไฟฟ้าย่อย สถานีแผลงแรงดันไฟฟ้าจากไฟฟ้านครหลวงจาก 115 กิโลโวลต์ เป็น 24 กิโลโวลต์ สถานีประปา รับน้ำจากประปานครหลวงเพื่อจ่ายให้อาคารผู้โดยสารและอาคารต่างๆผ่าน เครือข่ายท่อประปาใต้ดิน ที่มีความยาวกว่า 35 กิโลเมตร สถานีประปาสามารถเก็บและรองรับ้ำได้ 40,000 ลูกบาศก์เมตร โรงบำบัดน้ำเสีย ทำหน้าที่รับน้ำที่ใช้แล้วจากอาคารผู้โดยสารและอาคารต่างๆผ่านทางท่อ ใต้ดินเพื่อนำมาบำบัด ปัจจุบันสามารถบำบัดน้ำเสีย ได้วันละ 18,000 ลูกบาศก์เมตร น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดและจะนำกลับมาใช้ระบายความร้อนในระบบปรับอากาศและรด น้ำต้นไม้ อาคารผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น ดำเนินการโดย บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของกระทรวงพลังงาน ร่วมทุนโดย ปตท. การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และการไฟฟ้านครหลวง โดยลงทุนก่อสร้างระบบ District Cooling System and Power Plant ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยระบบพลังงานร่วมเพื่อป้อนให้กับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นอกจากนั้นยังนำพลังงานเหลือใช้จากการผลิตไฟฟ้า คือ พลังงานความร้อนมาผลิตน้ำเย็นและไอน้ำ เพื่อใช้ในระบบปรับอากาศในอาคารผู้โดยสาร อาคารเทคโนโลยีและสารสนเทศท่าอากาศยาน ประกอบด้วยศูนย์ควบคุมหลัก 4 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์ปฏิบัติการท่าอากาศยาน ศูนย์ควบคุมการรักษาความปลอดภัย ศูนย์ควบคุมสภาวะฉุกเฉิน และศูนย์บริหารจัดการระบบเครือข่าย อาคารจอดรถยนต์ มี 2 อาคาร ตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสาร รองรับรถยนต์ได้ประมาณ 5,000 คัน และมีพื้นที่จอดรถ 30,000 ตร.ม. ความสามารถในการรองรับ รถยนต์ 1,000 คัน ศูนย์การขนส่งสาธารณะ มีพื้นที่ปะรมาณ 42,000 ตารางเมตร หรือประมาณ 26 ไร่ ภายในแบ่งเป็นพื้นที่จอดรถยนต์ และพื้นที่พักคอยรถประเภทต่าง ๆ ได้แก่ รถแท็กซี่ รถลีมูซีน รถเช่า นอกจากนั้นภายในศูนย์ขนส่งยังมีอาคาร Bus Terminal ซึ่งเป็นสถานีจอดรถรับ - ส่ง สาธารณะ 2 ประเภท คือ รถประจำทาง ขสมก. และ บขส. โดยภายในศุนย์ขนส่งมีสถานีบริการน้ำมันและร้านค้าให้บริการ เขตปลอดอากร (คลังสินค้า) รัฐบาลได้มีนโยบานส่งเสริมให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นศุนย์กลางในด้านการบินและการขนส่งผู้โดยสาร สินค้า และ พัสดุภัณฑ์ ดังนั้น จึงได้มีการนำรูปแบบการบริหารจัดการแบบเขตปลอดอากรมาใช้ที่ท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสินค้า ขาเข้า ขาออก และสินค้าผ่านแดนได้โดยที่มีข้อปฎิบัติทางระเบียบศุลกากรน้อยที่สุด พื้นที่เขตปลอดอากรอยู่บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ รวม 549,416 ตารางเมตร หรือประมาณ 345 ไร่ และมีสาธารณะอีก 111,156 ตารางเมตร กลุ่มอาคารหลักด้วย - อาคารขนถ่ายสินค้าของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทดับบลิวเอฟเอสพีจีคาร์โก้ จำกัด - อาคารคลังสินค้า 4 หลัง - อาคารตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศ 4 หลัง - อาคารสำนักงานศุลกากร และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง - อาคารผู้บริหารจัดการ Free Zone รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ อันดับ 3 ของโลก รางวัล Best in Travel Poll 2010 ของนิตยสารท่องเที่ยวออนไลน์ Smarttravelasia.com อันดับ 5 ประเภท ท่าอากาศยานที่ให้บริการผู้โดยสารมากกว่า 40 ล้านคน/ปี รางวัล Airport Service Quality Awards 2010 ของ ACI อันดับ 10 ท่าอากาศยานดีเด่นของโลก รางวัล World Airport Awards 2010 ของ Skytrax ท่าอากาศยานดีเด่นประจำปี 2553 รางวัล CAPA Aviation Awards for Excellence ของสถาบัน Centre for Asia Pacific Aviation (CAPA) โรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิ เป็นโรงแรมประจำสนามบินอย่างเป็นทางการแห่งเดียวของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และได้รับการคัดเลือกให้เป็น1 ใน 10 โรงแรมประจำสนามบินที่ดีที่สุด ของทวีปเอเชียและของโลก ประจำปีพ.ศ. 2554 ล็อบบี้ของโรงแรมฯ มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมตำแหน่งที่ตั้งของโรงแรมฯ ที่ไม่ได้รับผลกระทบ จากมลภาวะการขึ้น ลงของเครื่องบิน ระยะเวลาเดินทางระหว่างโรงแรมฯกับสนามบินฯ ใช้เวลา 5 นาที ด้วยบริการรถรับ-ส่งตลอด 24 ชั่วโมงของโรงแรมฯ หรือใช้เวลาเดินเท้า 10 นาที ผ่านทางเดินใต้ดินปรับอากาศที่เชื่อมสู่ตัวอาคาร โรงแรมฯ ยังมีรถตู้บริการรับ ส่ง (Shuttle Van) ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ระหว่างโรงแรมฯกับสนามบินฯ ในระยะเวลาเดินทาง 5 นาที หรือใช้เวลาเดินเท้า 10 นาทีผ่านทางเดินใต้ดินปรับอากาศที่เชื่อมสู่ตัวอาคารผู้โดยสาร ที่อยู่ โรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิ แอร์พอร์ต 999 อาคารโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, หมู่ 1, หนองปรือ, บางพลี, สมุทรปราการ 10540 ประเทศไทย คลิ๊กที่นี่เพื่อดูแผนที่ โทร : (66) 2-131-1111 แฟ็กซ์ : (66) 2-131-1188 อีเมล์ : info@novotelairportbkk.com เว็บไซต์โรงแรม www.novotelairportbkk.com ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.suvarnabhumiairport.com |